วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม (Security Ethical Challenges) เรื่องที่ 2 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)

ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์




              1. พวกมือใหม่หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้ และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย ไม่ได้ดำรงชีพ
    โดยการกระทำความผิด
            
              2. นักเจาะข้อมูล ผู้ที่เจาะข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

              3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกลักเล็กขโมยน้อยที่พยายามขโมยบัตรเอทีเอ็ม ของผู้อื่น

              4. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่น พวกที่มักจะใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกง
    สถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น

              5. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ
    ศาสนา หรือสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นคงจะไม่ใช่มีผลกระทบเพียงแต่ความมั่นคงของบุคคลใด
    บุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ทั้งความมั่นคงภายใน
    และภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข่าวกรอง หรือการจารกรรมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
    ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมเช่น

             
              1. ในปัจจุบันความมั่นคงของรัฐนั้นมิใช่จะอยู่ในวงการทหารเพียงเท่านั้น บุคคลธรรมดาก็สามารถป้องกัน หรือทำลาย ความมั่นคงของประเทศได้

              2. ในปัจจุบันการป้องกันประเทศอาจไม่ได้อยู่ที่พรมแดนอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการคุกคาม หรือ
    ทำลายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

              3. การทำจารกรรมในสมัยนี้มักจะใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

              บนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ความผิดต่าง ๆ ล้วนแต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การจารกรรม การก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การแบ่งแยกดินแดน การฟอกเงิน การโจมตีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม เช่น ระบบจราจร หรือระบบรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ความมั่นคง ของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของชาติ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด การโจมตีผ่านทางระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สามารถทำได้ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับการเคลื่อนที่ความเร็วแสง ซึ่งเหนือกว่า การเคลื่อนทัพทางบก หรือการโจมตีทางอากาศ

การลักลอบเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
การลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคลและสังคมสารสนเทศโดย ผู้ไม่ประสงค์ดี” ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกนี้ ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crimeขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการขาด จริยธรรมที่ดี” ซึ่งนอกจากเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรมที่ดีแล้ว ยังถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย หลายประเทศมีการออกกฎหมายรองรับเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นแล้ว แต่อาจแตกต่างกันไปในประเด็นของเนื้อหาที่กระทำผิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและระดับความร้ายแรงของการก่ออาชญากรรมที่กระทำขึ้นด้วย สำหรับประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับนานาประเทศ และได้ออกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 ใช้เป็นกฎหมายที่กำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล คอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น