วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Solutions) เรื่องที่ 2 ระบบความคิด (Systems Thinking)

ระบบความคิด


การคิดเชิงระบบ (System Thinking)ทฤษฎีระบบ (System Theory)  เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของส่วนรวมทั้งหมดซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหนึ่งๆ ในปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น  ทั้งในแง่ขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยย่อยๆ เช่นระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายของมนุษย์

ระบบ (System) หมายถึง สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้              ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น              ถ้าพิจารณาองค์กร ในรูปแบบของระบบการเรียนของโรงเรียน ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยระบบย่อยคือ ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่าย ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในแต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบย่อยได้อีก

ชนิดของระบบ

ระบบปิด (Close System) หมายถึงระบบที่ไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับระบบภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม  เช่นระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์  ระบบการทดลองในห้องปฏิบัติการ  ระบบในโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบเปิด (Open System) หมายถึงระบบที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตลอดเวลา ผ่านขอบเขตที่กั้นหรือห่อหุ้มระบบนั้นไว้
องค์ประกอบของระบบ                องค์ประกอบที่สำคัญของระบบมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเข้า (input) ส่วนกระบวนการ  (processing) ส่วนผลลัพธ์ (output) และส่วนป้อนกลับ (feed-back)

ส่วนนำเข้า             คือ    ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
ส่วนกระบวนการ   คือ   ส่วนที่ทำหน้าที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบไปแปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้อง
ส่วนผลลัพธ์            คือ    ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ
ส่วนป้อนกลับ         คือ    ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้นนำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการ

คุณสมบัติของการคิดเชิงระบบ

1.       คิดแบบมีความเป็นองค์รวม (Holistic or Wholeness)
2.       คิดเป็นเครือข่าย (Networks)
3.       คิดเป็นลำดับขั้น (Hierarchy)
4.       คิดแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interaction)
5.       คิดอย่างมีขอบเขต (Boundary)
6.       คิดอย่างมีแบบแผน (Pattern)
7.       คิดอย่างมีโครงสร้าง (System Structure)
8.       คิดอย่างมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Adaptation)
9.       คิดเป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback Loops)

การคิดเชิงระบบ...จะทำให้

1.       มองอะไรเป็นองค์รวม   เรามองเห็นโลกรอบตัวอย่างเป็นองค์รวมที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่ได้มองแยกเป็นส่วนๆ ทำให้สามารถทำความเข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.       มองเห็นผลกระทบ  เรามองเห็นและตระหนักได้ว่าระบบการทำงานของส่วนย่อยทำงานอย่างไร  หากหยุดทำงานหรือผิดพลาดจะมีผลกระทบต่อระบบโดยรวมอย่างไร
3.       มองเห็นได้ชัดเจนเพียงพอ   เรามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยต่างๆ ที่อยู่ในระบบนั้นว่ามีอิทธิพลต่อแบบแผนพฤติกรรมและเหตุการณ์ของระบบได้อย่างไรบ้าง
4.       มองว่าสรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง  เรามีความเข้าใจต่อระบบของการดำเนินชีวิตนั้นว่ามีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่  ความคิดของเราเองก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
5.       มองอย่างไม่ประมาท   เราเข้าใจว่าเหตุการณ์หนึ่งจะมีอิทธิพลที่จะส่งผลกระทบหรือสะเทือนต่ออีกเหตุการณ์หนึ่งได้  ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ที่สองจะเกิดหลังจากเหตุการณ์แรกได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอยู่ไกลจากเหตุการณ์แรกก็ตาม
6.       มองในมุมที่ไม่เคยมอง  เกิดการท้าทายสมมติฐานเดิมของเราที่พยายามเข้าถึงความเป็นจริงในมุมมองใหม่ๆ คิดแบบที่ไม่เคยคิด ไม่สรุปอะไรอย่างที่เคยสรุป
7.       มองเห็นสิ่งที่เราทำมีผลกระทบต่อคนอื่นและระบบ และสิ่งที่คนอื่นทำก็มีผลกระทบต่อเราและระบบ   ตระหนักว่าการกระทำของเรา หรือการกระทำของคนอื่นว่ามีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อระบบโดยรวมอย่างไรบ้าง
8.       ทำในสิ่งที่ควรทำและเป็นในสิ่งที่ควรเป็น   เรารู้ว่า “อะไร” ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเรานั้นล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับ “ตำแหน่งของเรา”  ที่อยู่ในระบบขณะนั้นๆ9.       เลิกกล่าวโทษใคร...ซะที  วิธีคิดกระบวนการระบบไม่สนับสนุนให้เราหา “แพรรับบาป”  เมื่อสิ่งที่กระทำนั้นผิดพลาดหรือดำเนินต่อไปไม่ได้ตามที่วางแผนไว้ แต่จะสนับสนุนให้เราสนใจ “มอง” และ “เห็น” ต่างออกไปด้วยการ “ทดลองตั้งคำถามใหม่” เมื่อบางอย่างไม่เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้

การฝึกคิดเชิงระบบ...คิดว่า

1.       คำตอบถูกต้องไม่ได้มีคำตอบเดียว รูปแบบทางความคิดหนึ่งอาจจะเหมาะสมในช่วงเวลาหนึ่ง  แต่ยังหารูปแบบทางความคิดใหม่ๆ ได้เสมอ
2.       เราไม่สามารถแบ่งช้าง 1 ตัว ออกครึ่งตัวเป็น 2 ตัว แล้วยังคงเป็นช้างอยู่
3.       สาเหตุกับผลลัพธ์ไม่อยู่ใกล้กัน   มีมิติของระยะทาง และเวลาด้วย
4.       ถ้ากินข้าวทั้งจานทีเดียวไม่ได้ก็ให้กินทีละคำ
5.       ระวังการคิดทางตรง หรือความคิดแบบน้ำตก (Waterfall Thinking)  ให้คิดเป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback-loops หรือ Spiral Thinking)
6.       การให้ความสนใจในหลายๆ ด้าน จะทำให้มีมุมมองที่หลากหลายและนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น
7.       การเผชิญหน้ากับความคลุมเครือเป็นเรื่องธรรมดาๆ รู้สึกสบายๆ
8.       ต้องใจเย็น อดทนรอคอยผลกระทบและข้อมูลที่ป้อนกลับ
9.       สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กัน  มีเหตุและผลสอดรับกันทั้งสิ้น  จึงต้องปรับและแต่งความเชื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์
10.    ต้องเริ่มมองเห็นปัญหาและยอมรับว่าเป็นปัญหาก่อน  จึงจะเริ่มแก้ปัญหาได้11.    หากคิดจะเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบที่มีความเป็นเครือข่ายต้องตัดตัวเชื่อมรอบๆ ระบบนั้นออกก่อน
12.    ยิ่งระบบมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งมีการหน่วงเวลาออกไปมากเท่านั้น  ถ้าไม่ให้ความสนใจก็จะเลยกำหนดแล้วย่ำอยู่กับที่
13.    ยิ่งระบบมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งไม่สามารถเชื่อใจหรือวางใจในการคาดเดาถึงผลกระทบที่ตามมามากขึ้นเท่านั้น
14.    หากความล้มเหลวเกิดขึ้นในระบบจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา  การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอย่างถูกวิธี ถูกที่ ถูกจุด ถูกเวลา กลับจะได้ผลลัพธ์ที่มากมายได้
15.    ถ้าเราเป็นส่วนประกอบหนึ่งของปัญหา เราแก้มันไม่ได้ด้วยระดับความคิดที่สร้างปัญหานั้นขึ้นมา
16.    ควรเปลี่ยนแปลงอะไรก่อน- หลัง  เพราะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก่อนจะได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า

วิธีวิเคราะห์เชิงระบบ (System Analysis)                เป็นการแยกแยะ เจาะลึกลงไปในองค์ประกอบและขอบเขตต่างๆ ของระบบว่าสามารถจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยรวมของระบบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด  มีปัญหาอย่างไร  ที่ตรงจุดไหน  จะแก้ไขอย่างไรเรานำความคิดเชิงระบบมาใช้ทำอะไรบ้าง

1.       แก้ปัญหาโดยตรงและลบความคิดที่ก่อให้เกิดปัญหา
2.       ท้าทายและตรวจสอบวิธีคิดที่เป็นอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบทางความคิดที่ตายตัว
3.       ให้เกิดความตระหนักว่า ความคิดของคนเรานั้น จริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เผชิญอยู่  “เมื่อเราเป็นส่วนประกอบหนึ่งของปัญหาของเรา  เราจะแก้ไขมันไม่ได้ด้วยระดับความคิดเดียวกับระดับความคิดที่สร้างปัญหานั้นขึ้นมา”
4.       ปรับรูปแบบทางความคิดและวิถีปฏิบัติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น