วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่2-เขียน Blogger

หน้าที่ของฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ภายในมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆ ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ หรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์นี่เอง ดังนั้นจึงบอกได้เลยว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คงต้องเทียบว่า ฮาร์ดดิสก์คือสมองส่วนความทรงจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับวันนี้เราจะพาไปดูการทำงานและส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์กัน

1.    หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
2.    แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
3.    จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
4.    มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที
5.    เคส (Case) หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ
1.    IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
2.    SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
3.    E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
4.    SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กร
ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอ


วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดนของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enterprise and Global Management of Information Technology) คำศัพท์


  1. Architecture    สถาปัตยกรรม
  2. Platform    แพลทฟอร์ม
  3. Cross   ข้าม
  4. Functional    ฟังก์ชัน
  5. Human    มนุษย์
  6. Failures   ความล้มเหลว
  7. Effectively  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. Efficiently   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. Econamically   อิโคนามิคอลลี่
  10. Management    การจัดการ

บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม (Security Ethical Challenges) คำศัพท์


  1. Employment    การจ้างงาน
  2. Privacy     ความเป็นส่วนตัว
  3. Crime   อาชญากรรม
  4. Individuality    ความแตกต่าง 
  5. Health   สุขภาพ
  6. Ethics   จริยธรรม
  7. Proportionality    สัดส่วน
  8. Informed    แจ้ง
  9. Consent    ได้รับความยินยอม
  10. Cyber   ไซเบอร์

บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Solutions) คำศัพท์


  1. Defining   การกำหนด
  2. Thinking   คิด
  3. Mastery    การเรียนรู้
  4. Mental    จิต
  5. Shared     ที่ใช้ร่วมกัน
  6. Vision   วิสัยทัศน์
  7. Cycle    วงจร
  8. Investigation    ตรวจสอบ
  9. Implementation    การดำเนินงาน
  10. Maintenance    ซ่อมบำรุง

บทที่ 11 การพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Strategies) คำศัพท์


  1. Scenario    สถานการณ์
  2. Approach   วิธีการ
  3. Analysis   การวิเคราะห์
  4. Strengths    จุดแข็ง
  5. Weaknesses    จุดอ่อน
  6. Opportunities    โอกาส
  7. Treats    ขนม
  8. Strategic    ยุทธศาสตร์
  9. Growth    การเจริญเติบโต
  10. Concentration   ความเข้มข้น

บทที่ 10 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) คำศัพท์


  1. Decision    การตัดสินใจ
  2. Strategic    ยุทธศาสตร์
  3. Tactical    ยุทธวิธี
  4. Operational   การดำเนินงาน
  5. Quality    คุณภาพ
  6. Structure    โครงสร้าง
  7. Unstructured    ที่ไม่มีโครงสร้าง
  8. Executive    บริหาร
  9. Class   ชั้น
  10. Mining    การทำเหมืองแร่

บทที่ 9 ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Systems : e-Commerce) คำศัพท์


  1. Scope   ขอบเขต
  2. Commerce    พาณิชย์
  3. Profiling    โปรไฟล์
  4. Personalizing    ส่วนบุคคล
  5. Catalog   แคตตาล็อก
  6. Workflow    ขั้นตอนการทำงาน
  7. Event      เหตุการณ์
  8. Collaboration    การทำงานร่วมกัน
  9. Trading    เทรดดิ้ง
  10. Payment    วิธีการชำระเงิน

บทที่ 8 ระบบธุรกิจในองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise Business Systems) คำศัพท์


  1. Relationship    ความสัมพันธ์
  2. Fulfillment     การบรรลุเป้าหมาย
  3. Retention    การเก็บรักษา
  4. Royalty    พระบรมวงศานุวงศ์
  5. Sale    ขาย
  6. Account   บัญชี
  7. Desk   โต๊ะเขียนหนังสือ
  8. Phases    ขั้นตอน
  9. Acquire    ได้รับ
  10. Enhance    เพิ่ม

บทที่ 7 ระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (Electric Business Systems) คำศัพท์


  1. Electronic    อิเล็กทรอนิกส์
  2. Commerce   พาณิชย์
  3. Transaction   รายการที่เกี่ยวโยงกัน
  4. Decision    การตัดสินใจ
  5. Support    สนับสนุน
  6. Architecture    สถาปัตยกรรม
  7. Transaction   รายการที่เกี่ยวโยงกัน
  8. Online   ออนไลน์
  9. Extranet    เอ็กทราเน็ต
  10. Entry    รายการ

บทที่ 6 การสื่อสารโทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Telecommunication and Networks) คำศัพท์


  1. Networks    เครือข่าย
  2. Networking    ระบบเครือข่าย
  3. Enterprise    เอ็นเตอร์ไพส์
  4. Internetworked   อินเทอร์เน็ตเวิร์ค
  5. Extranet    เอ็กทราเน็ต
  6. Trends   แนวโน้ม
  7. Telecommunications     โทรคมนาคม
  8. Industry    อุตสาหกรรม
  9. Smartphone   สมาร์ทโฟน
  10. Netbook   เน็ตบุ๊ค

บทที่ 5 การจัดการทรัพยากรข้อมูล (Data Resource Management) คำศัพท์


  1. Data    ข้อมูล
  2. Resource    ทรัพยากร
  3. Management    การบริหารจัดการ
  4. Foundation    มูลนิธิ
  5. Character   ตัวละคร
  6. Field    ภาคสนาม
  7. Grouping   การจัดกลุ่ม
  8. Record    บันทึก
  9. File   ไฟล์
  10. Database   ฐานข้อมูล

บทที่ 4 คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Computer Software) คำศัพท์


  1. Software    ซอฟต์แวร์
  2. Application    แอพลิเคชั่น
  3. Database    ฐานข้อมูล
  4. Custom    กำหนดเอง
  5. Graphical   กราฟฟิค
  6. Menu   เมนู
  7. Intergrated    บูรณาการ
  8. Packages    แพ็คเกจ
  9. Web    เว็บ
  10. Browsers  เบราว์เซอร์

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware) คำศัพท์


  1. Computer    คอมพิวเตอร์
  2. Hardware    ฮาร์ดแวร์
  3. Introduction    บทนำ
  4. Systems   ระบบ
  5. Workstation    สถานีงาน
  6. Digital    ดิจิตอล
  7. Terminals    ขั้ว
  8. Network    เครือข่าย
  9. Microcomputer     เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
  10. Personal    ส่วนบุคคล

บทที่ 2 การแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Competing with Information Technology) คำศัพท์


  1. Competing     การแข่งขัน
  2. Information    ข้อมูล
  3. Technology     เทคโนโลยี
  4. Concept       แนวคิด
  5. Competitive     การแข่งขัน
  6. Strategies     กลยุทธ์
  7. Differentiation     ความแตกต่าง
  8. Innovation    นวัตกรรม
  9. Growth     การเจริญเติบโต
  10. Alliance     พันธมิตร

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 พื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ (Foundations of information Systems in Business) คำศัพท์


  1. Plan     การวางแผน
  2. Control    การควบคุม
  3. Lead    การเป็นผู้นำ
  4. Organize   การจัดการ
  5. Technology   เทคโนโลยี
  6. Processing   การประมวลผล
  7. Input   การนำเสนอเข้าสู่ระบบ
  8. Output   การนำเสนอผลลัพธ์
  9. Manual  ระบบประมวลด้วยมือ
  10. Machine  เครื่องจักร

บทที่ 14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดนของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enterprise and Global Management of Information Technology) เรื่องที่ 2 การวางแผนธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ

กลยุทธ์และความมั่นคงของสารสนเทศ
 (Strategy and Information Security)
          

  
การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศมีความสำคัญยิ่งในโลกของการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแผนกลยุทธ์ย่อยที่บ่งชี้ถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างในโครงสร้างทางเทคโนโลยี โดยการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอาจประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์ โครงสร้างเครือข่าย การจัดการ IT และอื่นๆ ส่วนประกอบที่สำคัญจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กร ดังนั้นในการวางกลยุทธ์จะต้องให้ความสำคัญ

            ความมั่นคงของสารสนเทศเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกลยุทธ์ ความซับซ้อนของข้อมูลในองค์กรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การปกป้องข้อมูลมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน การปกป้องไม่ใช่เพียงแค่การตรวจสอบในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องมีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลภายในองค์กรอาจยังขาดระบบควบคุมความมั่นคงที่เพียงพอ แต่ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้หากอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารและการควบคุมการเข้าถึงของพนักงานภายในองค์กรมีความมั่นคงเพียงพอ  ส่วนของระบบเปิดที่มีการเชื่อมโยงกับคู่ค้าและลูกค้านั้น การมีระบบควบคุมความมั่นคงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีเพื่อสร้างความไว้วางใจกันระหว่างองค์กร

            บทบาทความมั่นคงของสารสนเทศในการวางกลยุทธ์นั้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บความลับและสร้างให้เป็นเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือ นำเสนอประโยชน์ที่สูงสุดในการวางกลยุทธ์สำหรับองค์กร ซึ่งข้อมูลสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเป้าหมายขององค์กร มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มประโยชน์ให้กับองค์กร

            การวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลมีการสร้างโปรแกรมการรักษาความมั่นคงของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมดที่สนับสนุนการป้องกันข้อมูล นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยี กระบวนการจัดการที่เป็นแบบแผน และคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร โดยโปรแกรมดังกล่าวมีส่วนช่วยสร้างระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพและมีการจัดการการควบคุมอีกด้วย

วิธีการวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล (Information Security Strategy Planning Methodology)
            กลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ดูจากสภาพแวดล้อมโดยรวม เป้าหมายขององค์กร และความเป็นไปได้ในวิธีการที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งกลยุทธ์ยังจะรวมถึงภารกิจ เป้าหมาย การะบวนทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การปฏิบัติงานภายในองค์กร และเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันและในอนาคต

            การวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูล การหาข้อเท็จจริง และการวิเคราะห์ โดยการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยพัฒนาให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด

บทที่ 14 องค์กรและการจัดการไร้พรมแดนของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enterprise and Global Management of Information Technology) เรื่องที่ 1 ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Business and IT)

ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ



ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.  กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4.  กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
                ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติ งานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.  ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.  ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4.  ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5.  ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)

บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม (Security Ethical Challenges) เรื่องที่ 2 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)

ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์




              1. พวกมือใหม่หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้ และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย ไม่ได้ดำรงชีพ
    โดยการกระทำความผิด
            
              2. นักเจาะข้อมูล ผู้ที่เจาะข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

              3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกลักเล็กขโมยน้อยที่พยายามขโมยบัตรเอทีเอ็ม ของผู้อื่น

              4. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่น พวกที่มักจะใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกง
    สถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น

              5. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ
    ศาสนา หรือสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

              ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นคงจะไม่ใช่มีผลกระทบเพียงแต่ความมั่นคงของบุคคลใด
    บุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศชาติเป็นการส่วนรวม ทั้งความมั่นคงภายใน
    และภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข่าวกรอง หรือการจารกรรมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
    ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมเช่น

             
              1. ในปัจจุบันความมั่นคงของรัฐนั้นมิใช่จะอยู่ในวงการทหารเพียงเท่านั้น บุคคลธรรมดาก็สามารถป้องกัน หรือทำลาย ความมั่นคงของประเทศได้

              2. ในปัจจุบันการป้องกันประเทศอาจไม่ได้อยู่ที่พรมแดนอีกต่อไปแล้ว แต่อยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการคุกคาม หรือ
    ทำลายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

              3. การทำจารกรรมในสมัยนี้มักจะใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

              บนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ความผิดต่าง ๆ ล้วนแต่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การจารกรรม การก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การแบ่งแยกดินแดน การฟอกเงิน การโจมตีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม เช่น ระบบจราจร หรือระบบรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ความมั่นคง ของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของชาติ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด การโจมตีผ่านทางระบบโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สามารถทำได้ด้วยความเร็วเกือบเท่ากับการเคลื่อนที่ความเร็วแสง ซึ่งเหนือกว่า การเคลื่อนทัพทางบก หรือการโจมตีทางอากาศ

การลักลอบเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
การลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคลและสังคมสารสนเทศโดย ผู้ไม่ประสงค์ดี” ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกนี้ ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crimeขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการขาด จริยธรรมที่ดี” ซึ่งนอกจากเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรมที่ดีแล้ว ยังถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย หลายประเทศมีการออกกฎหมายรองรับเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นแล้ว แต่อาจแตกต่างกันไปในประเด็นของเนื้อหาที่กระทำผิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและระดับความร้ายแรงของการก่ออาชญากรรมที่กระทำขึ้นด้วย สำหรับประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับนานาประเทศ และได้ออกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 ใช้เป็นกฎหมายที่กำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับการกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล คอมพิวเตอร์

บทที่ 13 ความปลอดภัย และความท้าทายด้านจริยธรรม (Security Ethical Challenges) เรื่องที่ 1 ความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมของผู้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจ




จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) เป็นรูปแบบของการปรับใช้หลักจริยธรรม (ethics) กับการบริหารงานและการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ กล่าวคือเมื่อการดำเนินธุรกิจเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการแสวงหากำไร การประกอบการดังกล่าวมักต้องประสบกับคำถามทางจริยธรรม เช่น ปัญหาเรื่องค่าแรง ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทำให้องค์กรธุรกิจต้องมีการประเมินว่าจะตัดสินใจอย่างไรระหว่างต้นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือกล่าวว่าธุรกิจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นนอกจากการแสวงหากำไรและรับผิดชอบต่อผลสะเทือน (impact) ที่เกิดมาจากการตัดสินใจนั้น จริยธรรมทางธุรกิจจึงเป็นการนำเรื่องของคุณค่าเชิงปทัสถาน (normative value) เข้าไปพิจารณาร่วมกับการตัดสินใจทางธุรกิจที่เน้นการแสวงหากำไร

บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Solutions) เรื่องที่ 2 ระบบความคิด (Systems Thinking)

ระบบความคิด


การคิดเชิงระบบ (System Thinking)ทฤษฎีระบบ (System Theory)  เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของส่วนรวมทั้งหมดซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหนึ่งๆ ในปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น  ทั้งในแง่ขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยย่อยๆ เช่นระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายของมนุษย์

ระบบ (System) หมายถึง สิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยหรือองค์ประกอบย่อย ที่จะต้องมีความสัมพันธ์และทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้              ภายในระบบแต่ละระบบสามารถมองเป็น ระบบย่อย (Subsystem) ได้ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้ถือว่าเป็นระบบด้วยเช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบที่สมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อระบบย่อยหลาย ๆ ระบบรวมกันจะทำให้เกิดระบบใหญ่ขึ้น              ถ้าพิจารณาองค์กร ในรูปแบบของระบบการเรียนของโรงเรียน ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยระบบย่อยคือ ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายวิชาการ ฝ่าย ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในแต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบย่อยได้อีก

ชนิดของระบบ

ระบบปิด (Close System) หมายถึงระบบที่ไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับระบบภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม  เช่นระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์  ระบบการทดลองในห้องปฏิบัติการ  ระบบในโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบเปิด (Open System) หมายถึงระบบที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตลอดเวลา ผ่านขอบเขตที่กั้นหรือห่อหุ้มระบบนั้นไว้
องค์ประกอบของระบบ                องค์ประกอบที่สำคัญของระบบมี 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเข้า (input) ส่วนกระบวนการ  (processing) ส่วนผลลัพธ์ (output) และส่วนป้อนกลับ (feed-back)

ส่วนนำเข้า             คือ    ทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบแล้วก่อให้เกิดกระบวนการขึ้น
ส่วนกระบวนการ   คือ   ส่วนที่ทำหน้าที่แปรสภาพ หรือประมวลผล โดยอาศัยส่วนนำเข้าของระบบไปแปรสภาพเป็นผลลัพธ์ที่ต้อง
ส่วนผลลัพธ์            คือ    ส่วนที่ต้องการจากระบบ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบ
ส่วนป้อนกลับ         คือ    ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนำเอาส่วนผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้นนำผลที่ได้จากการเปรียบเทียบไปปรับปรุงส่วนนำเข้าหรือกระบวนการ

คุณสมบัติของการคิดเชิงระบบ

1.       คิดแบบมีความเป็นองค์รวม (Holistic or Wholeness)
2.       คิดเป็นเครือข่าย (Networks)
3.       คิดเป็นลำดับขั้น (Hierarchy)
4.       คิดแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interaction)
5.       คิดอย่างมีขอบเขต (Boundary)
6.       คิดอย่างมีแบบแผน (Pattern)
7.       คิดอย่างมีโครงสร้าง (System Structure)
8.       คิดอย่างมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Adaptation)
9.       คิดเป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback Loops)

การคิดเชิงระบบ...จะทำให้

1.       มองอะไรเป็นองค์รวม   เรามองเห็นโลกรอบตัวอย่างเป็นองค์รวมที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ไม่ได้มองแยกเป็นส่วนๆ ทำให้สามารถทำความเข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.       มองเห็นผลกระทบ  เรามองเห็นและตระหนักได้ว่าระบบการทำงานของส่วนย่อยทำงานอย่างไร  หากหยุดทำงานหรือผิดพลาดจะมีผลกระทบต่อระบบโดยรวมอย่างไร
3.       มองเห็นได้ชัดเจนเพียงพอ   เรามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยต่างๆ ที่อยู่ในระบบนั้นว่ามีอิทธิพลต่อแบบแผนพฤติกรรมและเหตุการณ์ของระบบได้อย่างไรบ้าง
4.       มองว่าสรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง  เรามีความเข้าใจต่อระบบของการดำเนินชีวิตนั้นว่ามีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่  ความคิดของเราเองก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
5.       มองอย่างไม่ประมาท   เราเข้าใจว่าเหตุการณ์หนึ่งจะมีอิทธิพลที่จะส่งผลกระทบหรือสะเทือนต่ออีกเหตุการณ์หนึ่งได้  ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ที่สองจะเกิดหลังจากเหตุการณ์แรกได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอยู่ไกลจากเหตุการณ์แรกก็ตาม
6.       มองในมุมที่ไม่เคยมอง  เกิดการท้าทายสมมติฐานเดิมของเราที่พยายามเข้าถึงความเป็นจริงในมุมมองใหม่ๆ คิดแบบที่ไม่เคยคิด ไม่สรุปอะไรอย่างที่เคยสรุป
7.       มองเห็นสิ่งที่เราทำมีผลกระทบต่อคนอื่นและระบบ และสิ่งที่คนอื่นทำก็มีผลกระทบต่อเราและระบบ   ตระหนักว่าการกระทำของเรา หรือการกระทำของคนอื่นว่ามีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อระบบโดยรวมอย่างไรบ้าง
8.       ทำในสิ่งที่ควรทำและเป็นในสิ่งที่ควรเป็น   เรารู้ว่า “อะไร” ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเรานั้นล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับ “ตำแหน่งของเรา”  ที่อยู่ในระบบขณะนั้นๆ9.       เลิกกล่าวโทษใคร...ซะที  วิธีคิดกระบวนการระบบไม่สนับสนุนให้เราหา “แพรรับบาป”  เมื่อสิ่งที่กระทำนั้นผิดพลาดหรือดำเนินต่อไปไม่ได้ตามที่วางแผนไว้ แต่จะสนับสนุนให้เราสนใจ “มอง” และ “เห็น” ต่างออกไปด้วยการ “ทดลองตั้งคำถามใหม่” เมื่อบางอย่างไม่เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้

การฝึกคิดเชิงระบบ...คิดว่า

1.       คำตอบถูกต้องไม่ได้มีคำตอบเดียว รูปแบบทางความคิดหนึ่งอาจจะเหมาะสมในช่วงเวลาหนึ่ง  แต่ยังหารูปแบบทางความคิดใหม่ๆ ได้เสมอ
2.       เราไม่สามารถแบ่งช้าง 1 ตัว ออกครึ่งตัวเป็น 2 ตัว แล้วยังคงเป็นช้างอยู่
3.       สาเหตุกับผลลัพธ์ไม่อยู่ใกล้กัน   มีมิติของระยะทาง และเวลาด้วย
4.       ถ้ากินข้าวทั้งจานทีเดียวไม่ได้ก็ให้กินทีละคำ
5.       ระวังการคิดทางตรง หรือความคิดแบบน้ำตก (Waterfall Thinking)  ให้คิดเป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback-loops หรือ Spiral Thinking)
6.       การให้ความสนใจในหลายๆ ด้าน จะทำให้มีมุมมองที่หลากหลายและนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีขึ้น
7.       การเผชิญหน้ากับความคลุมเครือเป็นเรื่องธรรมดาๆ รู้สึกสบายๆ
8.       ต้องใจเย็น อดทนรอคอยผลกระทบและข้อมูลที่ป้อนกลับ
9.       สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กัน  มีเหตุและผลสอดรับกันทั้งสิ้น  จึงต้องปรับและแต่งความเชื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์
10.    ต้องเริ่มมองเห็นปัญหาและยอมรับว่าเป็นปัญหาก่อน  จึงจะเริ่มแก้ปัญหาได้11.    หากคิดจะเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบที่มีความเป็นเครือข่ายต้องตัดตัวเชื่อมรอบๆ ระบบนั้นออกก่อน
12.    ยิ่งระบบมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งมีการหน่วงเวลาออกไปมากเท่านั้น  ถ้าไม่ให้ความสนใจก็จะเลยกำหนดแล้วย่ำอยู่กับที่
13.    ยิ่งระบบมีความซับซ้อนมากเท่าใดก็ยิ่งไม่สามารถเชื่อใจหรือวางใจในการคาดเดาถึงผลกระทบที่ตามมามากขึ้นเท่านั้น
14.    หากความล้มเหลวเกิดขึ้นในระบบจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา  การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอย่างถูกวิธี ถูกที่ ถูกจุด ถูกเวลา กลับจะได้ผลลัพธ์ที่มากมายได้
15.    ถ้าเราเป็นส่วนประกอบหนึ่งของปัญหา เราแก้มันไม่ได้ด้วยระดับความคิดที่สร้างปัญหานั้นขึ้นมา
16.    ควรเปลี่ยนแปลงอะไรก่อน- หลัง  เพราะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก่อนจะได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า

วิธีวิเคราะห์เชิงระบบ (System Analysis)                เป็นการแยกแยะ เจาะลึกลงไปในองค์ประกอบและขอบเขตต่างๆ ของระบบว่าสามารถจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยรวมของระบบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด  มีปัญหาอย่างไร  ที่ตรงจุดไหน  จะแก้ไขอย่างไรเรานำความคิดเชิงระบบมาใช้ทำอะไรบ้าง

1.       แก้ปัญหาโดยตรงและลบความคิดที่ก่อให้เกิดปัญหา
2.       ท้าทายและตรวจสอบวิธีคิดที่เป็นอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบทางความคิดที่ตายตัว
3.       ให้เกิดความตระหนักว่า ความคิดของคนเรานั้น จริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เผชิญอยู่  “เมื่อเราเป็นส่วนประกอบหนึ่งของปัญหาของเรา  เราจะแก้ไขมันไม่ได้ด้วยระดับความคิดเดียวกับระดับความคิดที่สร้างปัญหานั้นขึ้นมา”
4.       ปรับรูปแบบทางความคิดและวิถีปฏิบัติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

บทที่ 12 การพัฒนาธุรกิจ/วิธีแก้ปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Solutions) เรื่องที่ 1 แนวคิดเชิงระบบ (The Systems Approach)

แนวคิดเชิงระบบ 


 1)  องค์ประกอบในระบบ
                ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  3  ส่วน  ดังนี้
                1.1)  ปัจจัยนำเข้า  (Input)  อาจได้แก่วัสดุ  อุปกรณ์  วัตถุดิบ  แรงงาน  เงินทุน  ทรัพยากรต่างๆ  รวมไปถึงเวลาและสถานที่
                1.2)  กระบวนการ  (Process)  ได้แก่  เทคนิควิธี  ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ  ตั้งแต่ต้นจนจบ
                1.3)  ผลที่ได้รับหรือผลผลิต  (Output)  เป็นผลที่ได้รับจากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการทั้งหมด  ผลผลิตเป็นสิ่งที่ต้องการในขั้นสุดท้ายของระบบ  ผลผลิตอาจเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  หรือหลายๆอย่างรวมกัน  เช่น  ในกระบวนการผลิตสินค้า  ก็อาจหมายถึงการเพิ่มคุณภาพ  การเพิ่มจำนวน  การยืดอายุผลผลิต  การเปลี่ยนรูปผลิตภัณฑ์  การลดต้นทุน  การผลิต  การลดต้นทุนการขนส่ง  ลดอุบัติเหตุ  หรือการเปลี่ยนแปลงในด้านดี  อื่นๆ  เป็นต้น

                ในระบบจะต้องมีการตรวจสอบอยู่ทุกขั้นตอน  เรียกว่า  Feedback  หรือข้อมูลย้อนกลับ  ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าแต่ละขั้นตอนดี  หรือไม่ดีเพียงใด  อย่างใด  ตัวอย่างเช่น  ในกรรมวิธีการผลิต  ถ้าในด้านปัจจัยนำเข้าหรือ  Input  ต้องมีการตรวจสอบดูว่าวัตถุดิบที่ใช้  มีคุณภาพตรงตามความต้องการหรือไม่  อาจรวมไปถึงกรรมวิธีในการสั่งซื้อวัตถุดิบ  การเก็บรักษา  การขนส่ง  เป็นต้น  ในด้านกระบวนการผลิตอาจจะต้องตรวจสอบดูสูตรการผลิต  การทำงานของเครื่องจักร  การแบ่งหน้าที่ทำงาน  การมอบหมายความรับผิดชอบ  วิธีสั่งการ  การควบคุม  การรายงานเป็นต้น  สำหรับด้านผลผลิตนั้นต้องตรวจสอบดูว่าผลผลิตที่ได้  มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการหรือไม่  ตรงกับความต้องการของตลาดแล้วหรือยัง  ยังมีส่วนจะต้องปรับปรุง  พัฒนาขึ้นอย่างไร  ดังนี้เป็นต้น

2)  องค์ประกอบที่อยู่นอกระบบ
               โดยทั่วไปมักมีองค์ประกอบอื่นที่อยู่นอกระบบ  ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบที่สำคัญ  3  ประการ  ดังนี้
              2.1) ทรัพยากร  ได้แก่  ปัจจัยด้านมนุษย์  เงิน  วัสดุ  ทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นต้น
              2.2) ความคาดหวัง  ได้แก่  ความคาดหวังของผู้ผลิต  ของลูกค้า  พ่อค้า  รัฐบาล  ชุมชน  ตลอดจนประชาชนทั่วไป
              2.3) สภาพแวดล้อม  เช่น  ภาวะการตลาด  ภาวะเศรษฐกิจ  เทคโนโลยี  การปกครอง  การเมือง  และสังคม  เป็นต้น  

ความสำคัญของการนำแนวคิดเชิงระบบไปใช้ในการปฏิบัติงาน

                1)  แนวคิดเชิงระบบเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถกำหนดกรอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถมองเห็น  กระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ
                2)  ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม  เนื่องจากสามารถสื่อสารกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนกับทีมงาน  ได้กระจ่างชัด  ซึ่งทำให้สามารถอธิบาย  หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆในมุมมองที่กว้าง
                3)  ทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น  หรือสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่  ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดจากระบบ  จะทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที  ซึ่งเป็นผลดีทั้งในระยะสั้นและระยาว
                 4)  ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  คือ  มีความถูกต้อง  ประหยัดค่าใช้จ่าย  ทันตามเวลาที่กำหนดและสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้

บทที่ 11 การพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Strategies) เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์สว็อท

 การวิเคราะห์สว็อท



S : Strong (จุดแข็ง)
W : weak (จุดอ่อน)
O : Opportunity (โอกาส)
T : threat (อุปสรรค)

และ เป็น การวิเคราะห์ภายในองค์กร (Internal analysis)
และ เป็น  การวิเคราะห์ภายนอกองค์กร (External analysis )

หลักการวิเคราะห์โดยตรวจสอบตนเองเปรียบเทียบกับสภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร ซึ่งสภาวะแวดล้อมภายนอก หมายถึง สภาพแวดล้อมที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ หรือไม่ได้เกิดจากตัวองค์กรเอง

เรามีจุดแข็งอะไรบ้างในองค์กร เช่น พนักงานมีประสิทธิภาพ  อายุงานของพนักงานมากและสามารถพัฒนาได้ง่าย
เรามีจุดอ่อนอะไรบ้างในองค์กร เช่น การส่งมอบล่าช้ากว่าคู่แข่ง  การประสานงานไม่ดี  การบริการไม่ดี
 จากสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้าง ที่เอื้อประโยชน์ให้องค์กรเรา เช่น  ถ้าเราอยู่ในธุรกิจขนส่ง ราคาน้ำมันที่ต่ำลงถือเป็นโอกาสในการทำกำไร  เป็นต้น 
 T  จากสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้าง ที่เป็นอุปสรรคต่อองค์กร เช่น ในธุรกิจขนส่ง ถ้าน้ำมันขึ้นราคา ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อองค์กร เพราะจะทำให้ผลกำไรลดลง เป็นต้น
           ส่วนใหญ่สภาวะแวดล้อมภายนอกขององค์กรจะเกี่ยวกับ การเมือง สังคม  แนวโน้มการเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า รวมไปถึงสภาวะทางเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ  ข่าวโรคระบาด  สงครามระหว่างประเทศ  ซึ่งทีมงานขององค์กรต้องทำการวิเคราะห์ในดี ไม่เอนเอียง  เพราะถ้าเอนเอียงแล้วจะไม่สามารถนำผลวิเคราะห์ทำการปรับปรุงองค์กรได้ หรือบางครั้งอาจเลวร้ายถึงขนาดชักนำองค์กรไปผิดทางได้
           นอกจากนี้เราต้องจับสถานการณ์ภายนอกองค์กรให้ดี  จุดแข็งบางเรื่องที่เคยเป็นจุดแข็ง เมื่อมีคู่แข่งมากขึ้น จุดแข็งก็อาจจะกลายเป็นจุดอ่อนได้ เช่นกัน

จากประสบการณ์ที่ได้พบ ส่วนใหญ่ถ้าเราให้หัวหน้างานหรือผู้บริหารระดับต้นและกลางทำวิเคราะห์ SWOT องค์กรทีไร จะเห็นว่าผลสรุปจะออกมาว่ามีปัญหาความไม่ชัดเจนของทิศทางองค์กร  ขาดทรัพยากรสนับสนุน  แต่ถ้าเป็น SWOT ที่ให้ระดับผู้บริหารระดับสูงทำการวิเคราะห์เอง  จะเห็นผลการวิเคราะห์อีกแบบหนึ่ง เช่น การประสานงานไม่ดี  ขาดระเบียบวินัย 
ดังนั้น การทำ SWOT ควรใช้ทีมงานทุกแผนกและอาจจะใช้หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงมาทำร่วมกัน และรวบรวมจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคทั้งหมดมารวมกัน  และต้องเปิดโอกาสให้ผู้เสนอ SWOT ให้เหตุผลและอธิบายสาเหตุว่าทำไมจึงให้หัวข้อนี้เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรืออุปสรรค จากนั้นให้ที่ประชุมซักถามและออกความเห็น  แล้วใช้มติที่ประชุมเป็นการชี้ขาดว่าเห็นชอบหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนเป็นประเภทอื่น

นอกจากการ SWOT โดยวิเคราะห์ที่ละด้านแล้ว ยังมีวิธีการ SWOT อีกแบบที่น่าสนใจ บางครั้งเราอาจจับคู่ทำการวิเคราะห์แบบนี้ได้
      -  SO วิเคราะห์พร้อมกันเลยว่า เรามีจุดแข็งอะไรและมีโอกาสอะไรที่สนับสนุนจุดแข็งนั้น เช่น ในธุรกิจการขนส่ง พนักงานของเรามีความชำนาญเส้นทาง สามารถลดระยะทางการขนส่งได้  และประจวบกับราคาน้ำมันลดลงทำให้โอกาสทำกำไรมีสูงขึ้น
       -  ST วิเคราะห์ว่าเรามีอุปสรรคอะไรบ้าง และเราจะสามารถใช้จุดแข็งแก้ไขอุปสรรคนั้นได้อย่างไร เช่น  ในธุรกิจท่องเที่ยว  ในช่วงหน้ามรสุมนักท่องเที่ยวจะลดลง โรงแรมเรามีจุดแข็งในด้านการจัดกิจกรรมเสริมและสถานที่อบรมสัมมนา อาจจะดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการโรงแรมได้อย่างสม่ำเสมอ
-
    WO วิเคราะห์ว่า มีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เอื้อโอกาสให้เราแล้ว แต่ถ้าเรายังมีจุดอ่อนอะไรที่จะทำให้เราฉกฉวยโอกาสนั้นไม่ได้
        -   WT วิเคราะห์ว่า มีสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคกับเราและยังกระทบกับจุดอ่อนของเราโดยตรงด้วย  

บทที่ 11 การพัฒนาธุรกิจ/กลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (Developing Business/IT Strategies) เรื่องที่ 1 การวางแผนองค์กร (Organization Planning)

การวางแผนองค์กร




การวางแผน หมายถึง การมองไปข้างหน้า พร้อมกับข้อมูลที่มีการศึกษาค้นคว้า มาเป็นอย่างดี  ซึ่งการวางแผนการจัดการมักจะเป็นบทสรุปของสิ่งที่มีความสำคัญ และเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอนาคตที่ดีขององค์กร และเป็นเป้าหมายในการทำงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ดังนั้นการวางแผนจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการพิจารณาถึงทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านกายภาพที่มีอยู่ปัจจุบัน และทักษะความรู้ ความสามารถที่เป็นจุดเด่นของทีมงานหลัก  เพื่อให้การวางแผนงานทุกอย่างสามารถปฎิบัติได้ที่องค์กรคาดหวัง และมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการกำหนดฟังก์ชั่นของการจัดการขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการกำหนดแผนการบรรลุความสำเร็จอย่างที่องค์กรต้องการภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่

ดังนั้น การวางแผน จึงเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้มีการคิด รูปแบบ กระบวนการ ของภาระกิจองค์กรอย่างเป็นระบบ และสามารถปฎิบัติได้จริง  ”ไม่ใช่การคาดเดา” การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร และมีการกำหนดรูปแบบการทำงานแบบฟังก์ชั่น ที่แตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกัน

ขั้นตอนในการวางแผนการทำงาน

การวางแผนการทำงานสำหรับองค์กรที่ต้องการมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้:-

1. การกำหนดวัตถุประสงค์

1.1 การวางแผนจำเป็นจะต้องมาจากการะดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาขององค์กร และมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ (ไม่ใช่ใครเสียงดัง ใครตำแหน่งใหญ่ ก็พูดอยู่คนเดียว)

1.2 การวางแผนเริ่มต้นด้วยการตั้งค่าเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จ

1.3 การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องมีความสอดคล้องกับเหตุและผลสำหรับการดำเนินกิจกรรมหลักต่างๆ และสามารถบ่งบอกถึงทิศทางของเป้าหมายที่จะดำเนินการได้

1.4 การกำหนดวัตถุประสงค์จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่ปฎิบัติได้จริง เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ช้ดเจน และมีขอบเขตการปฎิบัติงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับศักยภาพของทีมงานหลัก

1.5 การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องมีหน่วยวัด หรือ หน่วยนับในเชิงปริมาณ เช่น มีกำไรเพิ่มขึ้น 30% ภายใน 2 ปี   มีการประกวดระดับชาติและได้รับรับรางวัลชนะเลิศ ภายใน 3 ปี  เป็นต้น

2. การกำหนดการวางแผนอย่างเป็นระบบ

2.1 การวางแผนจะต้องมีสมมติฐานเกี่ยวกับรูปแบบ และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2.2 ข้อมูลพื้นฐานจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์กับองค์กร และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ ขององค์กรที่ชัดเจน

2.3 การกำหนดแผนจะต้องมีการกำหนดแนวโน้มความเบี่ยงเบนของแผนขณะที่ได้มีการดำเนินงานจริงๆ และพยามค้นหาสาเหตุของการเบี่ยงเบนเหล่านั้น ด้วยตัวชี้วัดความเสี่ยง และตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร

2.4 การสร้างจินตภาพ (Scenario Planing) คุณและทีมงานจะต้องมีการสร้างภาพในอนาคตว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรบ้าง?  จะแก้ปัญหาด้วยวิธีไหน และอย่างไร?

2.5 การวางแผนจะต้องมีการศึกษาปัจจัยทั้งจากภายใน และปัจจัยภายนอกที่จะมากระทบต่อวัตถุประสงค์ เช่น นโยบายการลงทุน  ความสัมพันธ์ของพันธมิตรกับองค์กร  ปรัชญาในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจภายนอก

3. การกำหนดแผนระดับองค์กร จะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.1 การกำหนดแผนระดับองค์กรจะต้องเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องมีความเข้าใจเป้าหมายของแผน กระบวนการปฎิบัติงาน  วิธีการเดียวกัน

3.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ของแต่ละแผนการจะต้องมีการประเมินข้อดี และข้อเสียภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสถานการณ์

3.3 มีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเกี่ยวกับความสำเร็จของแผนที่ชัดเจน กำหนดล่วงหน้า ทุกหน่วยงานยอมรับในเงื่อนไขการวัดเชิงปริมาณ ที่เลือกใช้

3.4 มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนระดับองค์กรที่ชัดเจน

3.5 มีการระบุตารางเวลาการทำงาน และลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เชื่อถือได้

3.6 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของแผน งบประมาณในแต่ละหน่วยงาน ระยะเวลา เป้าหมายความสำเร็จ ฯลฯ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

4. กระบวนการติดตาม/ประเมินผลของแผน

4.1  มีการกำหนดระยะเวลาที่จะติดตามวิธีการปฎิบัติ เป้าหมายที่สำเร็จ ระดับความก้าวหน้าของแผนที่ชัดเจน

4.2 มีการกำหนดเงื่อนไขที่จะใช้ประเมินผลด้านความเสี่ยง และการเบี่ยงเบนของเป้าหมาของแผนที่กำหนดไว้

4.3 มีขั้นตอนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนและการควบคุมฟังก์ชั่นของแผนที่ชัดเจน

บทที่ 10 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) เรื่องที่ 2 ระบบการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)




การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน 
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
        โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง         เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย
ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียน
        ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง การจัดการระบบการจัดการความรู้
        แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
        องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน